วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 17

วันศุกร์ ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2560


เนื้อหาที่เรียน
บทบาทของครู
1.      ตำแหน่งการนั่งของเด็กไม่ควรให้นั่งติดหน้าต่างหรือประตู
2.      ให้เด็กนั่งแถวหน้าสุดใกล้โต๊ะครู
3.      จัดให้เด็กนั่งติดกับนักเรียนที่ไม่ค่อยเล่น ไม่ค่อยคุยในระหว่างเรียน
4.      ให้เด็กมีกิจกรรม เปลี่ยนอิริยาบถบ้าง



กิจกรรมการเล่น
1.      การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
2.      เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
3.      ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
ยุทธศาสตร์การสอน
1.      เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
2.      ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
3.      จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
4.      ครูจดบันทึก
5.      ทำแผน IEP
การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
1.      วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
2.      คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
3.      ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
4.      เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน ครูให้เด็กพิเศษ
ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
1.   อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
2.   ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
3.   ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
4.   เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น
5.   ให้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม
การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
1.   ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
2.   ทำโดย การพูดนำของครู



ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
1.      ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
2.      การให้โอกาสเด็ก
3.      เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
4.      ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง
ทักษะการช่วยเหลือตนเอง: เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด การกินอยู่ การเข้าห้องน้ำ การแต่งตัว กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ - ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ - หัดให้เด็กทำเอง
จะช่วยเมื่อไหร่
1.      เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
2.      หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
3.      เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
4.      มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม
ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
1.   แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
2.   เรียงลำดับตามขั้นตอน
ตัวอย่างการย่อยงาน "การเข้าส้วม"
1.   เข้าไปในห้องส้วม
2.   ดึงกางเกงลงมา
3.   ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
4.   ปัสสาวะหรืออุจจาระ
5.   ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
6.   ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
7.   กดชักโครกหรือตักน้ำราด
8.   ดึงกางเกงขึ้น
9.   ล้างมือ เช็ดมือ เดินออกจากห้องส้วม


ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
1.      การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้ 
2.      มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
3.      เด็กรู้สึกว่า ฉันทำได้
4.      พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
5.      อยากสำรวจ อยากทดลอง
การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก: การกรอกน้ำ ตวงน้ำ ต่อบล็อก ศิลปะ มุมบ้าน ช่วยเหลือตนเอง

ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ: ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่ รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก



การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
1.      จัดกลุ่มเด็ก
2.      เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
3.      ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
4.      ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
5.      ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
6.      ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
7.      บันทึกว่าเด็กชอบอะไรที่สุด
8.      รู้ว่าเมื่อไหร่จะเปลี่ยนงาน
9.      มีอุปกรณ์ไว้สับเปลี่ยนใกล้มือ
10. เตรียมทุกอย่างให้พร้อมก่อนเด็กมาถึง
11. พูดในทางที่ดี
12. จัดกิจกรรมให้เด็กได้เคลื่อนไหว
13. ทำบทเรียนให้สนุก

การประยุกต์ใช้
        ได้เรียนรู้เทคนิค วิธีการสอนและวิธีการดูแลเด็กพิเศษในการจัดการเรียนการสอนให้กับพวกเขา ต้องคำนึงถึงปัจจัยในหลายๆด้าน ต้องรู้จักเลือกอุปกรณ์ที่เหมาะสมต่อการใช้งานของเด็กๆ เช่นการเลือกใช้กรรไกรแบบใดที่จะนำมาให้เด็กพิเศษใช้ในการทำกิจกรรม

ประเมิน          
ประเมินตนเอง
        ตั้งใจเรียน ไม่คุยเสียงดังรบกวนผู้อื่น จดเนื้อหาสาระสำคัญที่อาจารย์สอน และจดเทคนิคเพิ่มเติมที่อาจารย์แนะนำให้ในขณะที่เรียน แต่งกายเรียบร้อย
ประเมินเพื่อน
        เพื่อนไม่ส่งเสียงดัง ตั้งใจเรียน ร่วมทำกิจกรรมกับอาจารย์ และมีการจดบันทึกสาระสำคัญที่อาจารย์เพิ่มเติมให้ มีการตอบคำถามที่อาจารย์ถาม
ประเมินอาจารย์ผู้สอน

        อาจารย์แต่งกายสุภาพ เรียบร้อย สอนเนื้อหาได้ดี น้ำเสียงไพเราะ น่าฟัง เข้าใจง่าย มีการอธิบายพร้อมยกตัวยอย่าง จึงทำให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น อาจารย์สอนทักษะในการใช้ชีวิตอยู่ในสังคมให้มีความสุข คิดให้ละเอียด รอบคอบอยู่เสมอ



บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 16
วันศุกร์ ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2560

***ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากนักศึกษาไปเข้าค่ายฝึกอบรม
ผู้กำกับลูกเสือสำรอง


ณ ศูนย์พัฒนาบุคลากรทางการลูกเสือ ยุวกาชาด และกิจกรรมเยาวชน "กฐิน กุยยกานนท์" จังหวัดสมุทรปราการ



บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 15
วันศุกร์ ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2560


***ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากหยุดวันสงกรานต์



วันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 14
วันศุกร์ ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2560


***ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ไปราชการ


บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 13
วันศุกร์ ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2560


***ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ลากิจ

วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 12

วันศุกร์ ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560




เนื้อหาที่เรียน

กิจกรรมมือของฉัน
         จากการทำกิจกรรมนี้ เป็นการฝึกให้รู้ว่าคุณครูควรใส่ใจเกี่ยวกับการสังเกตพฤติกรรมเด็กอย่างละเอียด เด็กๆของเราอยู่กับเราทุกวันก็จริง แต่ใช่ว่าเราจะสามารถจำรายละเอียดทั้งหมดของเด็กได้ เด็กจะเกิดพฤติกรรมอย่างรวดเร็ว และมีพฤติกรรมที่หลากหลาย คุณครูต้องไม่คิดว่าตนเองจำได้ ต้องพยายามจดบันทึกอยู่ตอนเวลาเพื่อกันข้อมูลของเด็กผิดพลาด

การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
  •  เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
  •  ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
  •  เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)

1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
  •      เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
  •      เกิดผลดีในระยะยาว
  •        เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทน   การฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
  •         แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education  Program; IEP)
  •        โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน

2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
  •        การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
  •        การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
  •         การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)

 3. การบำบัดทางเลือก
  •        การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
  •        ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
  •       ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
  •        การฝังเข็ม (Acupuncture)
  •        การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)
  •        การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
  •        โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS)
  •        เครื่องโอภา (Communication Devices)
  •        โปรแกรมปราศรัย

Picture Exchange Communication System (PECS)


การประยุกต์ใช้
        จากการทำกิจกรรมมือของฉัน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านการบันทึกพฤติกรรมของผู้เรียนครูควรบันทึกพฤติกรรมของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องไม่ควรสังเกตพฤติกรรมของเด็กด้วยสายตาเพียงอย่างเดียว เพราะเวลาบันทึกพฤติกรรมเด็กจริงๆครูอาจจะลืมและอาจจะกรอกข้อมูลที่ไม่ตรงกับพฤติกรรมของเด็กจริงๆ เพราะฉะนั้นครูควรใส่ใจรายละเอียดในเรื่องการบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นอย่างมาก

ประเมิน      
           
ประเมินตนเอง
        วันนี้ตั้งใจเรียนและจดบันทึกเนื้อหาสำคัญที่อาจารย์สอน มีความสุขและสนุกสนานกับการทำกิจกรรมของวันนี้เป็นอย่างมาก

ประเมินเพื่อน
        เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม สนุกสนานในการทำกิจกรรมและมีการสนทนาพูดคุยโต้ตอบกับอาจารย์เป็นระยะหรือสนทนาในเรื่องที่ยังไม่ค่อยเข้าใจ

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
       วันนี้อาจารย์ร่าเริงแจ่มใส น่ารัก ตั้งใจสอน มีกิจกรรมสนุกสนานมาให้ทำ จึงทำให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเรียน เนื้อหาที่สอนไม่เยอะจนเกินไป อาจารย์สอนเข้าใจง่ายอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาเพิ่มเติมด้วยค่ะ

ภาพการเรียนการสอนสัปดาห์นี้