วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 12

วันศุกร์ ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2560




เนื้อหาที่เรียน

กิจกรรมมือของฉัน
         จากการทำกิจกรรมนี้ เป็นการฝึกให้รู้ว่าคุณครูควรใส่ใจเกี่ยวกับการสังเกตพฤติกรรมเด็กอย่างละเอียด เด็กๆของเราอยู่กับเราทุกวันก็จริง แต่ใช่ว่าเราจะสามารถจำรายละเอียดทั้งหมดของเด็กได้ เด็กจะเกิดพฤติกรรมอย่างรวดเร็ว และมีพฤติกรรมที่หลากหลาย คุณครูต้องไม่คิดว่าตนเองจำได้ ต้องพยายามจดบันทึกอยู่ตอนเวลาเพื่อกันข้อมูลของเด็กผิดพลาด

การส่งเสริมพัฒนาการและการปรับพฤติกรรมเด็กปฐมวัยที่มีความต้องการพิเศษ
  •  เพื่อให้เด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ในชีวิตประจำวัน
  •  ใช้ชีวิตอยู่ในสังคมได้ใกล้เคียงกับคนปกติมากที่สุด 
  •  เน้นการดูแลแบบองค์รวม (Holistic Approach)

1. การฟื้นฟูสมรรถภาพทางการศึกษา
  •      เพิ่มทักษะพื้นฐานด้านสังคม การสื่อสาร และทักษะทางความคิด
  •      เกิดผลดีในระยะยาว
  •        เน้นการเตรียมความพร้อมเพื่อให้เด็กสามารถใช้ในชีวิตประจำวันจริงๆแทน   การฝึกแต่เพียงทักษะทางวิชาการ
  •         แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล (Individualized Education  Program; IEP)
  •        โรงเรียนการศึกษาพิเศษเฉพาะทาง โรงเรียนเรียนร่วม ห้องเรียนคู่ขนาน

2.การฟื้นฟูสมรรถภาพทางสังคม
  •        การฝึกฝนทักษะในชีวิตประจำวัน (Activity of Daily Living Training)
  •        การฝึกฝนทักษะสังคม (Social Skill Training)
  •         การสอนเรื่องราวทางสังคม (Social Story)

 3. การบำบัดทางเลือก
  •        การสื่อความหมายทดแทน (AAC)
  •        ศิลปกรรมบำบัด (Art Therapy)
  •       ดนตรีบำบัด (Music Therapy)
  •        การฝังเข็ม (Acupuncture)
  •        การบำบัดด้วยสัตว์ (Animal Therapy)

การสื่อความหมายทดแทน (Augmentative and Alternative Communication ; AAC)
  •        การรับรู้ผ่านการมอง (Visual Strategies)
  •        โปรแกรมแลกเปลี่ยนภาพเพื่อการสื่อสาร (Picture Exchange Communication System; PECS)
  •        เครื่องโอภา (Communication Devices)
  •        โปรแกรมปราศรัย

Picture Exchange Communication System (PECS)


การประยุกต์ใช้
        จากการทำกิจกรรมมือของฉัน สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในด้านการบันทึกพฤติกรรมของผู้เรียนครูควรบันทึกพฤติกรรมของผู้เรียนอย่างต่อเนื่องไม่ควรสังเกตพฤติกรรมของเด็กด้วยสายตาเพียงอย่างเดียว เพราะเวลาบันทึกพฤติกรรมเด็กจริงๆครูอาจจะลืมและอาจจะกรอกข้อมูลที่ไม่ตรงกับพฤติกรรมของเด็กจริงๆ เพราะฉะนั้นครูควรใส่ใจรายละเอียดในเรื่องการบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นอย่างมาก

ประเมิน      
           
ประเมินตนเอง
        วันนี้ตั้งใจเรียนและจดบันทึกเนื้อหาสำคัญที่อาจารย์สอน มีความสุขและสนุกสนานกับการทำกิจกรรมของวันนี้เป็นอย่างมาก

ประเมินเพื่อน
        เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน ตั้งใจทำกิจกรรม สนุกสนานในการทำกิจกรรมและมีการสนทนาพูดคุยโต้ตอบกับอาจารย์เป็นระยะหรือสนทนาในเรื่องที่ยังไม่ค่อยเข้าใจ

ประเมินอาจารย์ผู้สอน
       วันนี้อาจารย์ร่าเริงแจ่มใส น่ารัก ตั้งใจสอน มีกิจกรรมสนุกสนานมาให้ทำ จึงทำให้นักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการเรียน เนื้อหาที่สอนไม่เยอะจนเกินไป อาจารย์สอนเข้าใจง่ายอธิบายและยกตัวอย่างให้นักศึกษาเพิ่มเติมด้วยค่ะ

ภาพการเรียนการสอนสัปดาห์นี้







 



บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 11

วันศุกร์ ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2560



เนื้อหาที่เรียน
  •        สอบกลางภาควิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
  • การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
        การจัดการศึกษาสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ คือ เด็กที่มีความต้องการพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนร่วม (Integrated Education หรือ Mainstreaming)
    การจัดให้เด็กพิเศษเข้าไปในระบบการศึกษาทั่วไป
    มีกิจกรรมที่ให้เด็กพิเศษกับเด็กทั่วไปได้ทำร่วมกัน
    ใช้ช่วงเวลาช่วงใดช่วงหนึ่งในแต่ละวัน
    ครูปฐมวัยและครูการศึกษาพิเศษร่วมมือกัน
การเรียนร่วมบางเวลา (Integration)
     การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติในบางเวลา
     เด็กพิเศษได้มีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ
    เป็นเด็กพิเศษที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้
การเรียนร่วมเต็มเวลา (Mainstreaming)
    การจัดให้เด็กพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน
     เด็กพิเศษได้รับการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนเหมือนเด็กปกติ
    มีเป้าหมายเพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน
     เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน
ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม (Inclusive Education)

      การศึกษาสำหรับทุกคน
      รับเด็กเข้ามาเรียนรวมกันตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษา
      จัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
Wilson , 2007
      การจัดการเรียนการสอนที่ยึดปรัชญาของการอยู่รวมกัน (Inclusion) เป็นหลัก
      การสอนที่ดี เป็นการสอนที่ครูกับนักเรียนช่วยกันให้ทุกคนเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน
     กิจกรรมทุกชนิดที่จะนำไปสู่การสอนที่ดี (Good Teaching) ต้องคิดอย่างรอบคอบเพื่อหาหนทางให้นักเรียนทุกคนสามารถเรียนได้
     เป็นการกำหนดทางเลือกหลายๆ ทาง
"Inclusive Education is Education for all, 

It involves receiving people 
at the beginning of their education, 
with provision of additional services 
needed by each individual"

สรุปความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
     เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน ตั้งแต่เริ่มเข้ารับการศึกษาและจัดให้มีบริการพิเศษตามความต้องการของแต่ละบุคคล
     เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับความต้องการพิเศษของเขา
     เกิดจากปรัชญาการศึกษาที่กล่าวไว้ว่า การศึกษาสำหรับทุกคน (Education for All)
     การเรียนรวม เป็นแนวคิดทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเด็กคนใดเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษ
    เด็กเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก
    เด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพาเข้ามาโรงเรียนทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กไว้ และจะต้องจัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม และดำเนินการเรียนในลักษณะ รวมกัน ที่ทุกคนต่างเป็นส่วนหนึ่ง ของสังคม ทุกคนยอมรับซึ่งกันและกัน
     ทุกคนยอมรับว่ามี ผู้พิการ อยู่ในสังคมและเขาเหล่านั้นต่างก็เป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่จะต้องใช้ชีวิตร่วมกันกับคนปกติ โดยไม่มีการแบ่งแยก
บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
ครูไม่ควรวินิจฉัย
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
ครูไม่ควรบอกพ่อแม่ว่าเด็กมีบางอย่างผิดปกติ
  1. ครูทำอะไรบ้าง

      ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
     ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
     สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
     จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
สังเกตอย่างมีระบบ
การตรวจสอบ
    จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
     เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
    บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
      ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
     ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
     พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
การนับอย่างง่ายๆ
     นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
     กี่ครั้งในแต่ละวัน กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
     ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
    ให้รายละเอียดได้มาก
     เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
    โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
ตัวอย่าง
                                          น้อง____  อายุ____ขวบ 

                                         บันทึกวันที่ ____
                                         กิจกรรม____

       การประยุกต์ใช้

        ทำให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับการศึกษาแบบเรียนร่วมและการศึกษาแบบเรียนรวมว่ามีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง ประเด็นหลักๆก็คือ เรียนรวมเด็กเลือกโรงเรียน เรียนร่วมโรงเรียนเลือกเด็ก
ประเมิน          
ประเมินตนเอง
        สำหรับการเรียนการสอนวันนี้ ดิฉันตั้งใจเรียน มีการจดบันทึกที่อาจารย์สอน การเรียนวันนี้ดิฉันมีความเข้าใจเนื้อหาที่อาจารย์สอน พอสมควร
ประเมินเพื่อน
        ในการเรียนวันนี้เพื่อนเพื่อนตั้งใจเรียนกันมาก ไม่คุยเสียงดังและให้ความร่วมมือกับอาจารย์เวลาอาจารย์ถามเพื่อนเพื่อนมีความสนุกสนานในการเรียนทำให้การเรียนไม่เครียด
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
        ในวันนี้อาจารย์แต่งตัวเรียบร้อยน่ารักสดใสเหมือนทุกวัน เตรียมสื่อการสอนมาเป็นอย่างดีเนื้อหาในการสอนไม่มากจนเกินไปอธิบายเข้าใจง่ายและมีภาพตัวอย่างมาให้นักศึกษาได้ดู
       ภาพการเรียนการสอนสัปดาห์นี้














บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 10

วันศุกร์ ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2560



เนื้อหาที่เรียน
8.เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ (Children with Behavioral and Emotional Disorders)
        มีความรู้สึกนึกคิดที่ผิดไปจากปกติ แสดงออกถึงความต้องการทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น มีความเชื่อมั่นในตนเองต่ำเด็กที่มีการควบคุมอารมณ์ ให้อยู่ในสภาพปกตินานๆ ไม่ได้เด็กที่ควบคุมพฤติกรรมบางอย่างของตนเองไม่ได้ ทำให้ไม่สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเรียบร้อย
การจำแนกเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ ตามกลุ่มอาการ
ด้านความประพฤติ (Conduct Disorders)
                  ทำร้ายผู้อื่น ทำลายสิ่งของ ลักทรัพย์
                  ฉุนเฉียวง่าย หุนหันพลันแล่น และเกรี้ยวกราด
                  กลับกลอก เชื่อถือไม่ได้ ชอบโกหก ชอบโทษผู้อื่น
                  เอะอะและหยาบคาย
                  หนีเรียน รวมถึงหนีออกจากบ้าน
                  ใช้สารเสพติด
                  หมกมุ่นในกิจกรรมทางเพศ
ด้านความตั้งใจและสมาธิ (Attention and Concentration)
                  จดจ่อกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งในระยะสั้น (Short attention span) อาจไม่เกิน 20 วินาที
                  ถูกสิ่งต่างๆ รอบตัวดึงความสนใจได้ตลอดเวลา
                  งัวเงีย ไม่แสดงความสนใจใดๆ รวมถึงมีท่าทางเหมือนไม่ฟังสิ่งที่ผู้อื่นพูด
สมาธิสั้น (Attention Deficit)
                  มีลักษณะกระวนกระวาย ไม่สามารถนั่งนิ่งๆ ได้ หยุกหยิกไปมา
                  พูดคุยตลอดเวลา มักรบกวนหรือเรียกร้องความสนใจจากผู้อื่น
                  มีทักษะการจัดการในระดับต่ำ
การถอนตัวหรือล้มเลิก (Withdrawal)
                  หลีกเลี่ยงการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น และมักรู้สึกว่าตนเองด้อยกว่าผู้อื่น
                  เฉื่อยชา และมีลักษณะคล้ายเหนื่อยตลอดเวลา
                  ขาดความมั่นใจ ขี้อาย ขี้กลัว ไม่ค่อยแสดงความรู้สึก
ความผิดปกติในการทำงานของร่างกาย (Function Disorder)
                  ความผิดปกติเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน (Eating Disorder)
                  การอาเจียนโดยสมัครใจ (Voluntary Regurgitation)
                  การปฏิเสธที่จะรับประทาน
                  รับประทานสิ่งที่รับประทานไม่ได้
                  โรคอ้วน (Obesity)
                  ความผิดปกติของการขับถ่ายทั้งอุจจาระและปัสสาวะ (Elimination Disorder)
ภาวะความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์ระดับรุนแรง
                  ขาดเหตุผลในการคิด
                  อาการหลงผิด (Delusion)
                  อาการประสาทหลอน (Hallucination)
                  พฤติกรรมการทำร้ายตัวเอง
สาเหตุ ปัจจัยทางชีวภาพ (Biology), ปัจจัยทางจิตสังคม (Psychosocial)
เด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรม ซึ่งจัดว่ามีความรุนแรงมาก
                  เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit and Hyperactivity Disorders)
                  เด็กออทิสติก (Autistic) หรือ ออทิสซึ่ม (Autisum)
เด็กสมาธิสั้น (Children with Attention Deficit Hyperactivity Disorders)
ADHD เป็นภาวะผิดปกติทางจิตเวชมีลักษณะเด่นอยู่ 3 ประการ คือ
Inattentiveness (สมาธิสั้น)
          ทำอะไรได้ไม่นาน วอกแวก ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถจดจ่อกับงานที่กำลังทำได้นานเพียงพอ มักใจลอยหรือเหม่อลอยง่าย เด็กเล็กๆจะเล่นอะไรได้ไม่นาน เปลี่ยนของเล่นไปเรื่อยๆ เด็กโตมักทำงานไม่เสร็จตามที่สั่ง ทำงานตกหล่น ไม่ครบ ไม่ละเอียด
Hyperactivity (ซนอยู่ไม่นิ่ง)
                  ซุกซนไม่ยอมอยู่นิ่ง ซนมาก
                  เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
                  เหลียวซ้ายแลขวา
                  ยุกยิก แกะโน่นเกานี่
                  อยู่ไม่สุข ปีนป่าย
                  นั่งไม่ติดที่
                  ชอบคุยส่งเสียงดังรบกวนคนรอบข้าง
Impulsiveness (หุนหันพลันแล่น)
                  ยับยั้งตัวเองไม่ค่อยได้ มักทำอะไรโดยไม่ยั้งคิด วู่วาม
                  ขาดความยับยั้งชั่งใจ
                  ไม่อดทนต่อการรอคอย หรือกฎระเบียบ
                  ไม่อยู่ในกติกา
                  ทำอะไรค่อนข้างรุนแรง
                  พูดโพล่ง ทะลุกลางปล้อง
                  ไม่รอคอยให้คนอื่นพูดจบก่อน ชอบมาสอดแทรกเวลาคนอื่นคุยกัน
สาเหตุ ความผิดปกติของสารเคมีบางชนิดในสมอง เช่น โดปามีน (dopamine) นอร์อิพิเนฟริน (norepinephrine) ,ความผิดปกติในการทำงานของวงจรที่ควบคุมสมาธิ และการตื่นตัว อยู่ที่สมองส่วนหน้า (frontal cortex) ,พันธุกรรม,สิ่งแวดล้อมเป็นพิษ
          ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับสมาธิสั้น สมาธิสั้นไม่ได้เกิดจากความผิดของพ่อแม่ที่เลี้ยงดูลูกผิดวิธี ตามใจมากเกินไป หรือปล่อยปละละเลยจนเกินไป และไม่ใช่ความผิดของเด็กที่ไม่สนใจ ไม่ใส่ใจ แต่ปัญหาอยู่ที่การทำงานของสมองที่ควบคุมเรื่องสมาธิของเด็ก

อยู่ไม่สุข (Hyperactivity )  แตกต่างจาก  สมาธิสั้น (Attention Deficit )



ลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
                  อุจจาระ ปัสสาวะรดเสื้อผ้า หรือที่นอน
                  ยังติดขวดนม หรือตุ๊กตา และของใช้ในวัยทารก
                  ดูดนิ้ว กัดเล็บ
                  หงอยเหงาเศร้าซึม การหนีสังคม
                  เรียกร้องความสนใจ
                  อารมณ์หวั่นไหวง่ายต่อสิ่งเร้า
                  ขี้อิจฉาริษยา ก้าวร้าว
                  ฝันกลางวัน
                  พูดเพ้อเจ้อ
9. เด็กพิการซ้อน (Children with Multiple Handicaps)
                  เด็กที่มีความบกพร่องที่มากกว่าหนึ่งอย่าง เป็นเหตุให้เกิดปัญหาขัดข้องในการเรียนรู้อย่างมาก
                  เด็กปัญญาอ่อนที่สูญเสียการได้ยิน
                  เด็กปัญญาอ่อนที่ตาบอด
                  เด็กที่ทั้งหูหนวกและตาบอด
การประยุกต์ใช้
        เนื้อหาที่เรียนวันนี้ทำให้เข้าใจเกี่ยวกับเด็กสมาธิสั้น มีอาการเป็นอย่างไรเข้าใจถึงลักษณะเด็กที่มี ความบกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
ประเมิน          
ประเมินตนเอง
        สำหรับการเรียนวันนี้ดิฉันไม่ได้มาเรียนเพราะติดธุระทางบ้านแต่ตามงานจากเพื่อนและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาที่อาจารย์สอนวันนี้ค่ะ
ประเมินเพื่อน

        เพื่อนบอกเกี่ยวกับเนื้อหาที่อาจารย์สอนในวันนี้ว่าอาจารย์สอนเรื่องอะไรมีความสำคัญหรือว่าจุดเด่นตรงไหนบ้าง