บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 3
วันศุกร์
ที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2560
เนื้อหาที่เรียน
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษแบ่งได้เป็น
2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ
1. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความสามารถสูง
มีความเป็นเลิศทางสติปัญญา เรียกโดยทั่วไปว่า “เด็กปัญญาเลิศ” (Gifted Child)
เด็กฉลาด Gifted
ตอบคำถาม ตั้งคำถาม
สนใจเรื่องที่ครูสอน เรียนรู้สิ่งที่สนใจ
ชอบอยู่กับเด็กอายุเท่ากัน ชอบอยู่กับผู้ใหญ่หรือเด็กที่โตกว่า
ความจำดี อยากรู้อยากเห็น ชอบคาดคะเน
เรียนรู้ง่ายและเร็ว เบื่อง่าย
เป็นผู้ฟังที่ดี ชอบเล่า
พอใจในผลงานของตน ติเตียนผลงานของตน
2. กลุ่มเด็กที่มีลักษณะทางความบกพร่อง
1.
เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
2.
เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
3.
เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
4.
เด็กที่บกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
5.
เด็กที่บกพร่องทางการพูดและภาษา
6.
เด็กที่บกพร่องทางพฤติกรรมและอารมณ์
7.
เด็กที่บกพร่องทางการเรียนรู้
8.
เด็กออทิสติก
9.
เด็กพิการซ้อน
1. เด็กที่บกพร่องทางสติปัญญา
(Children with Intellectual Disabilities)
หมายถึง เด็กที่มีระดับสติปัญญา หรือเชาว์ปัญญาต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยเมื่อเทียบเด็กในระดับอายุเดียวกัน
มี 2 กลุ่ม คือ
-เด็กเรียนช้า
(IQ) ประมาณ 71-90
-เด็กปัญญาอ่อน
แบ่งตามระดับสติปัญญา (IQ) ได้ 4 กลุ่ม
1.
เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนักมาก IQ ต่ำกว่า 20 ไม่สามารถเรียนรู้ทักษะด้านต่าง
ๆ ได้เลย ต้องการเฉพาะการดูแลรักษาพยาบาลเท่านั้น
2.
เด็กปัญญาอ่อนขนาดหนัก IQ 20-34
•
ไม่สามารถเรียนได้
ต้องการเฉพาะการฝึกหัดการช่วยเหลือตัวเองในกิจวัตรประจำวันเบื้องต้นง่าย ๆ
•
กลุ่มนี้เรียกโดยทั่วไปว่า
C.M.R
(Custodial Mental Retardation)
3. เด็กปัญญาอ่อนขนาดปานกลาง IQ 35-49
•
พอที่จะฝึกอบรมและเรียนทักษะเบื้องต้นง่าย
ๆ ได้
•
สามารถฝึกอาชีพ
หรือทำงานง่าย ๆ ที่ไม่ต้องใช้ความละเอียดลออได้
•
เรียกโดยทั่วไปว่า T.M.R
(Trainable Mentally Retarded)
4. เด็กปัญญาอ่อนขนาดน้อย
IQ 50-70
•
เรียนในระดับประถมศึกษาได้
•
สามารถฝึกอาชีพและงานง่าย
ๆ ได้
•
เรียกโดยทั่ว ๆ ไปว่า
E.M.R
(Educable Mentally Retarded)
ดาวน์ซินโดรม (Down
Syndrome)
สาเหตุ:
เกิดจากความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง
(Trisomy 21)
อาการ:
•
ศีรษะเล็กและแบน คอสั้น
•
หน้าแบน ดั้งจมูกแบน
•
ตาเฉียงขึ้น ปากเล็ก
•
ใบหูเล็กและอยู่ต่ำ
รูหูส่วนนอกจะตีบกว่าปกติ
•
เพดานปากโค้งนูน
ขากรรไกรบนไม่เจริญเติบโต
•
ช่องปากแคบ ลิ้นยื่น
ฟันขึ้นช้าและไม่เป็นระเบียบ
•
มือแบนกว้าง
นิ้วมือสั้น
•
เส้นลายมือตัดขวาง
นิ้วก้อยโค้งงอ
•
ช่องระหว่างนิ้วเท้าที่
1 และ 2 กว้าง
•
มีความผิดปกติในระบบต่างๆ
ของร่างกาย
•
บกพร่องทางสติปัญญาระดับเล็กน้อยถึงปานกลาง
•
อารมณ์ดีเลี้ยงง่าย
ร่าเริง เป็นมิตร
•
มีปัญหาในการใช้ภาษาและการพูด
•
อวัยวะเพศมักเจริญเติบโตไม่เต็มที่ทั้งในชายและหญิง
การตรวจวินิจฉัยก่อนคลอดกลุ่มอาการดาวน์
•
การเจาะเลือดของมารดาในระหว่างที่ตั้งครรภ์
•
อัลตราซาวด์
•
การตัดชิ้นเนื้อรก
•
การเจาะน้ำคร่ำ
2. เด็กที่บกพร่องทางการได้ยิน
(Children with Hearing Impaired )
หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่อง
หรือสูญเสียการได้ยิน เป็นเหตุให้การรับฟังเสียงต่าง ๆ ได้ไม่ชัดเจน มี 2 ประเภท
คือ
เด็กหูตึง
1.
เด็กหูตึงระดับน้อย ได้ยินตั้งแต่ 26-40 dB
2.
เด็กหูตึงระดับปานกลาง ได้ยินตั้งแต่ 41-55 dB
3. เด็กหูตึงระดับมาก ได้ยินตั้งแต่ 56-70 dB
4. เด็กหูตึงระดับรุนแรง ได้ยินตั้งแต่ 71-90 dB
เด็กหูหนวก
- เด็กที่สูญเสียการได้ยินมากถึงขนาดที่ทำให้หมดโอกาสที่จะเข้าใจภาษาพูดจากการได้ยิน
- เครื่องช่วยฟังไม่สามารถช่วยได้
- ไม่สามารถเข้าใจหรือใช้ภาษาพูดได้
- ระดับการได้ยินตั้งแต่ 91 dB
ขึ้นไป
3. เด็กที่บกพร่องทางการเห็น
(Children with Visual Impairments)
- - เด็กที่มองไม่เห็นหรือพอเห็นแสง เห็นเลือนราง
- - มีความบกพร่องทางสายตาทั้งสองข้าง
- - สามารถเห็นได้ไม่ถึง 1/10 ของคนสายตาปกติ
- - มีลานสายตากว้างไม่เกิน 30 องศา
จำแนกได้เป็น 2
ประเภท คือ
เด็กตาบอด
- เด็กที่ไม่สามารถมองเห็นได้เลย
หรือมองเห็นบ้าง
- ต้องใช้ประสาทสัมผัสอื่นในการเรียนรู้
- มีสายตาข้างดีมองเห็นได้ในระยะ 6/60 , 20/200 ลงมาจนถึงบอดสนิท
- มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดแคบกว่า
5 องศา
เด็กตาบอดไม่สนิท
เด็กที่มีความบกพร่องทางสายตา
สามารถมองเห็นบ้างแต่ไม่เท่ากับเด็กปกติ
ทดสอบสายตาข้างดีจะอยู่ในระดับ 6/18, 20/60,
6/60, 20/200 หรือน้อยกว่านั้น
มีลานสายตาโดยเฉลี่ยอย่างสูงสุดกว้างไม่เกิน 30 องศา
การประยุกต์ใช้
มีความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กพิเศษที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา
ดาวน์ซินโดรม เด็กบกพร่องทางการได้ยินและเด็กบกพร่องทางการมองเห็น
เด็กพิเศษเหล่านี้มีอาการแตกต่างกันไปตามความบกพร่อง
ครูควรใส่ใจในรายละเอียดของเด็กพิเศษแต่ละประเภทเพื่อให้ได้รับการดูแลและบำบัดอย่างถูกต้อง
ประเมิน
ประเมินตนเอง
สำหรับการเรียนวันนี้มีความตั้งใจเป็นอย่างสูง
พยายามจดบันทึกสาระสำคัญที่อาจารย์พูดเพิ่มเติมจากในเนื้อหา
เพราะเห็นว่าเรื่องที่ได้รับการสอนในวันนี้เป็นเรื่องที่สำคัญสำหรับผู้ที่ทำอาชีพครู
ประเมินเพื่อน
เพื่อนทุกคนตั้งใจเรียนตั้งใจฟังอาจารย์สอนจดบันทึกในสิ่งที่เป็นสาระสำคัญ
ไม่ค่อยมีเสียงคุยกัน
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
ในวันนี้อาจารย์ตั้งใจสอนและเน้นสาระสำคัญและเด็กพิเศษที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญาโดยเฉพาะดาวน์ซินโดรมเพราะในชีวิตจริงครูอนุบาลจะต้องเจอเด็กที่เป็นดาวน์ซินโดรมเยอะพอสมควรอาจารย์เลยเน้นให้พวกเราทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของเด็กดาวน์ซินโดรมจริงๆ
ภาพการเรียนการสอนสัปดาห์นี้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น