สวัสดีค่ะ ยินดีต้อนรับเข้าสู้เว็บไซต์

วันเสาร์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2560

บันทึกการเรียน
ครั้งที่ 4

วันศุกร์ ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2560



เนื้อหาที่เรียน
ประเภทของเด็กที่มีความต้องการพิเศษ (ต่อ)
4. เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษา (Children with Speech and Language Disorders
       เด็กที่มีความบกพร่องทางการพูด หมายถึง เด็กที่มีความบกพร่องซึ่งเกิดจากการพูดผิดปกติ ในด้านความชัดเจนในการปรับปรุงแต่งระดับและคุณภาพของเสียง จังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด
1. ความบกพร่องในด้านการปรุงเสียง (Articulator Disorders)
2. ความบกพร่องของจังหวะและขั้นตอนของเสียงพูด (Speech Flow Disorders)
3. ความบกพร่องของเสียงพูด (Voice Disorders)
        ความบกพร่องทางภาษา หมายถึง การขาดความสามารถที่จะเข้าใจความหมาย

ของคำพูด และ/หรือไม่สามารถแสดงความคิดออกมาเป็นถ้อยคำได้

1. การพัฒนาการทางภาษาช้ากว่าวัย (Delayed Language)
2. ความผิดปกติทางการพูดและภาษาอันเนื่องมาจากพยาธิสภาพที่สมอง โดยทั่วไปเรียกว่า Dysphasia หรือ aphasia 
                  อ่านไม่ออก (alexia)
                  เขียนไม่ได้ (agraphia )
                  สะกดคำไม่ได้
                  ใช้ภาษาสับสนยุ่งเหยิง
                  จำคำหรือประโยคไม่ได้
                  ไม่เข้าใจคำสั่ง
                  พูดตามหรือบอกชื่อสิ่งของไม่ได้
Gerstmann’s syndrome
                  ไม่รู้ชื่อนิ้ว (finger agnosia)
                  ไม่รู้ซ้ายขวา (allochiria)
                  คำนวณไม่ได้ (acalculia)
                  เขียนไม่ได้ (agraphia)
                  อ่านไม่ออก (alexia)
5. เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ (Children with Physical and Health Impairments) 
              เด็กที่มีอวัยวะไม่สมส่วน อวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งหายไป เจ็บป่วยเรื้อรังรุนแรง มีปัญหาทางระบบประสาทและมีความลำบากในการเคลื่อนไหว
        โรคลมชัก (Epilepsy) เป็นลักษณะอาการที่เกิดเนื่องมาจากความผิดปกติของระบบสมอง มีกระแสไฟฟ้าที่ผิดปกติและมากเกินปล่อยออกมาจากเซลล์สมองพร้อมกัน
1.การชักในช่วงเวลาสั้น ๆ (Petit Mal) มีอาการเหม่อนิ่งเป็นเวลา 5-10วินาที
2.การชักแบบรุนแรง (Grand Mal) มีอาการชักจะส่งเสียง หมดความรู้สึก ล้มลง กล้ามเนื้อเกร็ง เกิดขึ้นราว 2-5 นาที จากนั้นจะหาย และนอนหลับไปชั่วครู
3.อาการชักแบบ (Partial Complex) มีอาการเหม่อนิ่ง รู้สึกตัวแต่ไม่รับรู้ ประมาณไม่เกิน 3 นาที
4.อาการไม่รู้สึกตัว (Focal Partial) เป็นอาการที่เกิดขึ้นในระยะสั้น เด็กไม่รู้สึกตัว อาจทำอะไรบางอย่างโดยที่ตัวเองไม่รู้
5.ลมบ้าหมู (Grand Mal) เมื่อเกิดอาการชักจะทำให้หมดสติ และหมดความรู้สึกในขณะชักกล้ามเนื้อเกร็งหรือแขนขากระตุก กัดฟัน กัดลิ้น
การปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ในกรณีเด็กมีอาการชัก
                  จับเด็กนอนตะแคงขวาบนพื้นราบที่ไม่มีของแข็ง
                  ไม่จับยึดตัวเด็กขณะชัก
                  หาหมอนหรือสิ่งนุ่มๆรองศีรษะ
                  ดูดน้ำลาย เสมหะ เศษอาหารออกจากปาก เพื่อให้ทางเดินหายใจโล่ง
                  จัดเสื้อผ้าเด็กให้หลวม
                  ห้ามนำวัตถุใดๆใส่ในปาก
                  ทำการช่วยหายใจโดยวิธีการเป่าปากหากเด็กหยุดหายใจ
ซี.พี. (Cerebral Palsy)
        การเป็นอัมพาตเนื่องจากระบบประสาทสมองพิการ หรือเป็นผลมาจากสมองที่กำลังพัฒนาถูกทำลายก่อนคลอด ระหว่างคลอด หรือหลังคลอด การเคลื่อนไหว การพูด พัฒนาการล่าช้า เด็กซีพี มีความบกพร่องที่เกิดจากส่วนต่าง ๆ ของสมองแตกต่างกัน
1.กลุ่มแข็งเกร็ง (spastic)
                  spastic hemiplegia อัมพาตครึ่งซีก
                  spastic diplegia อัมพาตครึ่งท่อนบน
                  spastic paraplegiaอัมพาตครึ่งท่อนบน
                  spastic quadriplegia อัมพาตทั้งตัว
2.กลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเอง (athetoid , ataxia)
                  athetoid อาการขยุกขยิกช้า ๆ หรือเคลื่อนไหวเร็วๆที่เท้า แขน มือ หรือที่ใบหน้าของ เด็กบางรายอาจมีคอเอียง ปากเบี้ยวร่วมด้วย
                  ataxia มีความผิดปกติในการทรงตัวของร่างกาย กล้ามเนื้อทำงานไม่ประสานกัน
3. กลุ่มอาการแบบผสม (Mixed)
        กล้ามเนื้ออ่อนแรง (Muscular Distrophy) เกิดจากเส้นประสาทสมองที่ควบคุมกล้ามเนื้อส่วนนั้น ๆ เสื่อมสลายตัว เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้ นอนอยู่กับที่ จะมีความพิการซ้อนในระยะหลัง คือ ความจำแย่ลง สติปัญญาเสื่อม
        โรคทางระบบกระดูกกล้ามเนื้อ (Orthopedic) ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการแต่กำเนิด เช่น เท้าปุก (Club Foot) กระดูกข้อสะโพกเคลื่อน อัมพาตครึ่งท่อนเนื่องจากกระดูกไขสันหลังส่วนล่างไม่ติด (Spina Bifida) ระบบกระดูกกล้ามเนื้อพิการด้วยโรคติดเชื้อ (Infection) เช่น วัณโรค กระดูกหลังโกง กระดูกผุ เป็นแผลเรื้อรังมีหนอง เศษกระดูกผุ กระดูกหัก ข้อเคลื่อน ข้ออักเสบ
        โปลิโอ (Poliomyelitis) มีอาการกล้ามเนื้อลีบเล็ก แต่ไม่มีผลกระทบต่อสติปัญญายืนไม่ได้ หรืออาจปรับสภาพให้ยืนเดินได้ด้วยอุปกรณ์เสริม
ลักษณะของเด็กบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพ
                  มีปัญหาเกี่ยวกับการทรงตัว
                  ท่าเดินคล้ายกรรไกร
                  เดินขากะเผลก หรืออึดอาดเชื่องช้า
                  ไอเสียงแห้งบ่อย ๆ
                  มักบ่นเจ็บหน้าอก บ่นปวดหลัง
                  หน้าแดงง่าย มีสีเขียวจางบนแก้ม ริมฝีปากหรือปลายนิ้ว
                  หกล้มบ่อย ๆ
                  หิวและกระหายน้าอย่างเกินกว่าเหตุ
การประยุกต์ใช้
        ได้รับความรู้เกี่ยวกับเด็กที่มีความบกพร่องทางการพูดและภาษาว่าเด็กเหล่านี้มีความบกพร่องในส่วนใดบ้างและควรช่วยเหลืออย่างไรต่อมาก็ยังได้รู้จักเด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายและสุขภาพเช่นเด็กที่เป็นซีพี เด็กซีพีก็จะแบ่งออกเป็นหลายกลุ่มมีทั้งกลุ่มแข็งแกร่งกลุ่มที่มีการเคลื่อนไหวที่เกิดขึ้นเองและกลุ่มอาการแบบผสม การเรียนในเรื่องนี้ทำให้เรารู้ว่าเด็กที่บกพร่องในแต่ละด้านสมควรได้รับ การดูแลอย่างไร
ประเมิน          
ประเมินตนเอง
        ในการเรียนการสอนวันนี้ดิฉันตั้งใจเรียนจดบันทึกข้อความสำคัญที่อาจารย์เพิ่มเติมให้ เนื้อหาวันนี้ค่อนข้างที่จะเยอะแต่พยายามทำความเข้าใจและพยายามฟังอาจารย์อธิบายเพื่อให้ได้รับความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง
ประเมินเพื่อน
        เพื่อนๆทุกคนตั้งใจเรียน และไม่ส่งเสียงดังขณะที่เรียน มีความสนุกสนานในการออกไปทำกิจกรรมที่อาจารย์เตรียมมาคือการแสดงบทบาทสมมติเกี่ยวกับลักษณะอาการของเด็กซีพี
ประเมินอาจารย์ผู้สอน
        อาจารย์น่ารักตั้งใจสอนยิ้มแย้มแจ่มใสพูดจาไพเราะกิจกรรมสนุกสอนสนุกมากค่ะเนื้อหาเยอะแต่อาจารย์พยายามสรุปให้นักศึกษาเข้าใจง่ายและมีตัวอย่างมาให้นักศึกษาดูซึ่งดีมาก
ภาพการเรียนการสอนสัปดาห์นี้








 






 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น